top of page

Phetchabun Mountains : เทือกเขาเพชรบูรณ์

ยุทธศาสตร์ภูมิทัศน์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัวเชิงสังคม เศรษฐกิจและนิเวศ เทือกเขาเพชรบรูณ์
ประเทศไทย

ภูมิทัศน์เทือกเขาเพชรบูรณ์ภายใต้ขอบเขตการดำเนินงานของกองทุนสิ่งแวดล้อมโลกได้นิยามขอบเขตของการดำเนินงานอยู่ในขอบเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดเลย เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการที่มีกลุ่มคนทำงานทั้งองค์กรพัฒนาภาคเอกชน NGO หรือองค์กรชุมชนที่สามารถสื่อสาร พูดคุย และดำเนินงานร่วมกันได้

ภูมิทัศน์เทือกเขาเพชรบูรณ์มีลักษณะทางกายภาพเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500–1,571 เมตร แบ่งลักษณะของพื้นที่ออกเป็นเขตภูเขาสูง ทางด้านทิศตะวันตกทั้งหมดของจังหวัดเลย เริ่มตั้งแต่อำเภอภูกระดึงขึ้นไปอำเภอภูหลวง อำเภอภูเรือ อำเภอท่าลี่ อำเภอด่านซ้าย และอำเภอนาแห้วทั้งหมด ส่วนในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์เริ่มตั้งแต่ อำเภอน้ำหนาว อำเภอหล่มเก่า และอำเภอเขาค้อ เขตที่ราบเชิงเขาใช้สำหรับที่อยู่อาศัยและทำการเพาะปลูก เขตที่ราบลุ่มมีพื้นที่น้อยมาก ในตอนกลางของจังหวัดเลยคือลุ่มน้ำเลย ลุ่มน้ำโขง ได้แก่บริเวณอำเภอวังสะพุง อำเภอเมือง อำเภอเชียงคานเป็นเขตที่ทำการเกษตรได้ดี ส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์มีพื้นที่ราบลุ่มของแม่น้ำป่าสักอยู่ในเขตอำเภอหล่มเก่า เป็นเขตที่ทำการเกษตรได้ดี

เทือกเขาเพชรบูรณ์ถือเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญในแง่ของทรัพยากรป่าไม้และแหล่งต้นน้ำของลุ่มน้ำสายหลักของประเทศ ที่ไหลลงสู่แหล่งน้ำสากล แหล่งทรัพยากรที่สำคัญในขอบเขตภูมิทศัน์ ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่า จำนวน 10 แห่ง ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติภูเรือ อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย เขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าภูหลวง เขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าภูค้อ ภูกระแต อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง และอุทยานแห่งชาติเขาค้อ

นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ป่าชุมชนที่เกิดจากการดูแลรักษาของชุมชน ภายใต้การสนับสนุนโครงการขนาดเล็กโดยชุมชน กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก GEF Small Grants Programme: GEF SGP รุ่น 12/4 (OP 5 Year 4) มีพื้นที่ป่าชุมชนรวมกันทั้งที่ขึ้นทะเบียนและไม่ขึ้นทะเบียนป่าชุมชนกับกรมป่าไม้จำนวน 51,635 ไร่

ลุ่มน้ำสายสำคัญที่เกิดจากพื้นที่ภูมิทัศน์เทือกเขาเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยลุ่มน้ำพุงไหลลงสู่ลุ่มน้ำป่าสัก ลุ่มน้ำเลยไหลลงสู่แม่น้ำโขง ลุ่มน้ำหมันไหลลงสู่ลุ่มน้ำเหืองไหลลงสู่แม่น้ำโขง ต้นน้ำพองไหลลงสู่แม่น้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ต้นน้ำเซิญเป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำชี และลุ่มน้ำเข็กไหลลงสู่แม่น้ำน่านทางฝั่งทิศตะวันตก

CHS_5607_edited.jpg
CHS_5698.jpg
CHS_5689.jpg
CHS_5696.jpg

ลักษณะความสัมพันธ์ทางสังคมภายใต้ขอบเขตภูมิทัศน์ทางฝั่งทิศตะวันตก ที่ตำบลเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นกลุ่มชาติพันธ์ุม้งที่มีวัฒนธรรมความเชื่อมาเป็นตัวกำหนดระบบความสัมพันธ์ของคนในชุมชน ที่มีลักษณะความเป็นเครือญาติสูงหรือมีความสัมพันธ์ในลักษณะของตระกลูแซ้ คนในชุมชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ส่วนเขตพื้นที่ฝั่งทิศตะวันออกของภูมิทัศน์ของจังหวัดเลยมาจนถึงเขตอำเภอน้ำหนาว อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์มีลักษณะความสัมพันธ์ทางสังคมเป็นแบบชุมชนเกษตรกรรม วิถีวัฒนธรรมแบบไทเลย–ไทหล่ม –ไทไต้ ซึ่งใช้สำเนียงภาษามาเป็นตัวกำหนด คือไทเลย ไทหล่มจะมีสำเนียงภาษาเป็นแบบหลวงพระบาง ส่วนไทไต้จะมีสำเนียงภาษาแบบคนอีสานที่อพยพมาจากจังหวัดมหาสารคาม จังหวัดอุบลราชธานี โดยเข้ามาในยุคการสัมปทานป่าไม้ และมีการส่งเสริมการปลกูพืชเชิงเดี่ยวตามแนวทางการปฏิวัติเขียวของแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 3 ทำให้มีการโยกย้ายถิ่นฐานเข้ามากระจายตัวอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอน้ำหนาวจังหวัดเพชรบูรณ์และอำเภอวังสะพุง อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม ความเชื่อ ภาษา และมีวิถีชีวิตความสัมพันธ์เป็นแบบเครือญาติอย่างแน่นแฟ้น ช่วยเหลือแบ่งปันซึ่งกันและกัน อยู่กันแบบพี่แบบน้อง ให้ความเคารพนอบน้อมต่อผู้อาวุโสในชุมชน ซึ่งเห็นได้จากวิธีการจัดการปัญหาข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในชุมชนด้วยวิธีการไกล่เกลี่ย โดยมีผู้อาวุโสเป็นคนกลาง คนในชุมชนให้ความสำคัญกับการดำเนินกิจกรรมส่วนรวมของชุมชน ตลอดจนมีกฎกติกาทางวัฒนธรรมร่วมกันที่ใช้เป็นตัวควบคุมทางสังคม ทำให้ชุมชนอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข

การใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนใหญ่เป็นการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรปลูกพืชเชิงเดี่ยวแบ่งตามลักษณะของพื้นที่ออกเป็น พื้นที่ราบเชิงเขาจะใช้ในการปลูกข้าวโพด ยางพารา มันสำปะหลัง ส่วนพื้นที่ราบลุ่มจะใช้ในการปลูกข้าว อ้อย มีเพียงส่วนน้อยที่ทำเกษตรแบบผสมผสาน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่าสงวน ถือครองกรรมสิทธ์ิแบบภาษีบำรุงท้องที่ (ภบท.5) จากรูปแบบการใช้ที่ดินที่ไม่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ เนื่องจากสภาพพื้นที่โดยรวมของภูมิทัศน์มีสภาพเป็นพื้นที่ภูเขา การปลกูพืชที่ไม่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ส่งผลกระทบและเกิดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่ภูมิทัศน์ตามมา

สภาพปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นในภาพรวมของพื้นที่ภูมิทัศน์เป้าหมาย โดยจากการประชุมเพื่อประเมิน ข้อมูล เส้นฐานและการหารือร่วมกับชุมชนระดับพื้นที่ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระดับภูมิทัศน์เทือกเขาเพชรบูรณ์ (เพชรบูรณ์ – เลย) ผลการระดมความคิดเห็นของพื้นที่เป้าหมายในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา สาเหตุ และผลกระทบ พบว่า "ประเด็นปัญหาหลักคือการปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่นำไปสู่ปัญหาการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าไม้" เพราะดินเสื่อมสภาพแต่ต้องการผลผลิตมากขึ้น อีกทั้งยังส่งผลกระทบอีกมากมายหลายด้านตามมา

ต้นทุนที่มีอยู่ในภูมิทัศน์ คือต้นทุนด้านการรวมกลุ่มที่เข้มแข็งขององค์กรชุมชนในด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบเครือข่ายป่าชุมชนและเครือข่ายสิ่งแวดล้อม พื้นที่เป้าหมายมีต้นทุนทางด้านทรัพยากรป่าไม้ที่เกิดจากการอนุรักษ์และการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐภายใต้การสนบัสนุน ของกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก(gef)ในรอบการสนับสนุนรุ่น 12/4 (OP5Year4) ธันวาคม 2558 – พฤษภาคม 2560 ได้แก่ การอนุรักษ์ป่าชุมชน ป่าอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่า พื้นที่ดังกล่าวถือเป็นพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำของลุ่มน้ำที่สำคัญของประเทศไทย และแหล่งน้ำสากล ต้นทุนทางด้านวัฒนธรรมที่เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวชี้นำการดำเนินชีวิตของคนในภูมินิเวศ และมีต้นทุนทางด้านภูมิปัญญาในการนำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิต

ผลการระดมความคิดเห็นของชุมชนจากพื้นที่เป้าหมายในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา สาเหตุ และผลกระทบ พบว่า ประเด็นปัญหาหลักคือการปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่นำไปสู่ปัญหาการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าไม้

บริบททางด้านเศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่เป้าหมายที่จะดำเนินงานในเขตภูมิทัศน์เทือกเขาเพชรบูรณ์นั้น ภาพรวมของกลุ่ม เป้าหมายมีอาชีพทำการเกษตรเชิงพาณิชย์ สภาพทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมจึงอิงกับภาคการเกษตรเป็นหลัก รายได้ของคนในชุมชนถือได้ว่าอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากมีรายได้เป็นรายปีและมีภาระหนี้สินจากการกู้ยืมเพื่อนำมาลงทุนในการทำการเกษตร เช่น ค่าเมล็ดพันธ์ุ ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช ยาฆ่าแมลง ค่าจ้างแรงงาน และค่าไถพรวน วิถีการผลิตเชิงพาณิชย์ที่เน้นปริมาณเป็นหลักทำให้คนในชุมชนขาดความตระหนักและสำนึกถึงผลกระทบทางระบบนิเวศ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาที่ตามมา คือ ปัญหาการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าไม้ เพื่อขยายพื้นที่ทางการเกษตร ปัญหาดินเสื่อม สภาพดินเสื่อมโทรมจากการใช้สารเคมี ปัญหาด้านระบบการผลิตที่ไม่มีประสิทธิ ภาพผลผลิตตกต่ำไม่มีคุณภาพ ปัญหาไม่มีอาชีพที่แน่นอน ขาดอาชีพเสริม ไม่มีทางเลือกในการประกอบอาชีพ ปัญหาขาดแคลนแหล่งน้ำที่ใช้ในการพัฒนาระบบการทำเกษตรแบบยั่งยืน ความมั่นคงทางด้านอาหารลดลงเนื่องจากพื้นที่ทรัพยากรถูกทำลาย ปัญหาเรื่องสิทธิที่ดินทำกิน การทวงคืนพื้นที่ ความไม่มั่นใจในสิทธิและการเข้าถึงแหล่งทุนในการพัฒนาที่ดินได้ ปัญหาไฟป่าที่เกิดจากการเผาเพื่อการเกษตร การล่าสัตว์และการเลี้ยงปศุสัตว์ ปัญหาภัย แล้งและปัญหาสัตว์ป่าบุกรุกพื้นที่การเกษตร ซึ่งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมของคนในชุมชน สภาพแวดล้อมของชุมชน ขาด การบริหารจัดการที่ดี และระบบที่เกี่ยวข้อง สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ดังกล่าวถือเป็นปัญหาที่โครงการมุ่งแก้ไขและพัฒนาในพื้นที่ภูมิทัศน์เทือกเขาเพชรบูรณ์ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การดำเนินงาน 4 ด้านของกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก

โดยมีแนวทางสำคัญในการพัฒนาภูมิทัศน์ ดังนี้

1.การส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า อย่างยั่งยืน
2.การส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพระบบการผลิตที่ยั่งยืน
3.การส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาอาชีพที่หลากหลายสู่การสร้างเศรษฐกิจบนพื้นฐานทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน
4.การส่งเสริมและพัฒนาระบบกลไกการบริหารจัดการที่เป็นธรรม มีประสิทธิภาพและเท่าเทียมกัน

โดยมีเป้าหมายระยะยาวของยทุธศาสตร์ภูมิทัศน์คือการเสริมสร้างความสามารถในการตั้งรับปรับตัวทางสังคม เศรษฐกิจและระบบนิเวศของภูมิทัศน์ โดยกิจกรรมที่ยึดชุมชนเป็นฐาน
เป้าหมายระยะยาว 10 ปี : เทือกเขาเพชรบูรณ์มีทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศที่สมดุล ชุมชนมีความเข้มแข็งโดยการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมและมีธรรมาภิบาล

และมีแนวทางขยายผลยกระดับแนวปฏิบัติสามแนวทางได้แก่ แนวทางที่ 1 ยกระดับโครงการที่มีศักยภาพและต้นทุน ขยายผลการดำเนินงานไปสู่พื้นที่อื่นหรือการขยายเครือข่ายการทำงาน แนวทางที่ 2 คือการขยายผลความรู้ของโครงการ SGP การผลักดันและยกระดับโครงการต้นแบบที่มีผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมและมีศักยภาพโดยผลักดันให้เกิดแผนการทำงานในระดับท้องถิ่นหรือถูกกำหนดให้เป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น และแนวทางที่ 3 นำเสนอบทเรียน องค์ความรู้ ผลสำเร็จของการดำเนินโครงการต่อหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบายของจังหวัดและนโยบายระดับประเทศ

Phetchabun Mountains

Landscape strategy for enhancing resilience capacity of socio-economic and ecological system: Phetchabun Mountains, Thailand

Under GEF involvement, and to facilitate the management, Petchabun Landscape encompasses the implemented area within Petchabun and Loei Province where a number of CBOs and NGOs have been actively collaborating and launching development work. In general, the landscape are mountainous area of different height, from 500-1,571 meters above sea level. High mountains are included in the western area in Phu Kradueng, Phu Luang,Phu Rua, Tha Li, Darnsai and Na Haew District of Loei Province, while plain areas between mountains used for cultivation and residence are in Petchabun Province’ s districts of Namnao, Lomkao and Khao Khor. There are quite limit lowland area in the central part of Loei Province in Wangsaphung, Chiangkharn, and Muang District , with two notable river basins, i.e. Loei River Basin and Mekong River Basin. This lowland area is suitable for cultivation. Another river basin-Parsak River Basin-in Petchabun Province’s Lomkao District is also suitable for cultivation.

Pechabun Landscape is endowed with rich natural resources especially forest resources and watersheds of several major rivers of the country which are integrated ecosystems of GEF international waters. There are 10 national parks and wildlife sanctuaries as follows:

1. Phu Rua National Park , with approximate area 121.98 sq,km

2. Phu Suansai National Park, with approximate area 109.33 sq,km

3. Phu Luang Wildlife Sanctuary, with approximate area 897 sq,km

4. Phu Khor Phu Kratae, with approximate area 232.5 sq,km

5. Phu Kra Dueng National Park, with approximate area 265.38 sq,km

6. Nam Nao National Park, with approximate area 974.26 sq,km

7. Phu Pha Marn National Park , with approximate area 355.51 sq. km.

8. Phu Hin Rongkar National Park , with approximate area 304.96 sq. km

9. Thung Salaengluang National Park , with approximate area 12,624 sq. km

10. Khao Khor National Park , with approximate area 483.78 sq. km

Communities of GEF SGP OP5 Year 4 have been launching activities which resulted in emergence of community forest with approximate area of 82.6 sq. km., included both registered and non-registered with Royal Forestry Department.

Major river basin originating in the landscape are Phung River Basin draining into Parsak River, thence passing through Petchabun Province, Lopburi Province and Saraburi Province before converging with Chaophaya River at Ayudhaya Province. The total length of this water is about 350 km. Loei River Basin , 213-293 km long flows down into Mekhong River. Nam Man River Basin (95 km.long) drains into Huang River (140 km.long) ,thence to Mekong River. Phong River Basin drains into Phong River( 275 km.long) in Khonkaen Province, and Khek River Basin drains into Nan River in the west of the landcape.

Social relations in the landscape differs very slightly, slightly but in a large picture it is fairly similar. In Tamblo Khek Noi, Petchabun Province’ s Namnao District , the west of the landscape which is home to a cultural group, Hmong, culture and belief are the main principles to define relations of community members which emphasizes the kinship and ancestor. The majority of community members in this area have been practicing agriculture. As to the eastern part of the landscape , from Loei Province to Petchabun Province’s Namnao and Lomkao District, social relations appear to be that of agricultural community with Thai Loei-Thai Lom-Thai Tai culture. The dialect accent of the group are slightly different. While Thai Loei and Thai Lom possess Luang Phabang Dialect, Thai Tai does the mainstream northeastern dialects from Mahasarakharm and Ubolratchathani Province whose communities had migrated into the landscape during the era of forest concession and promotion of mono-crop plantation under the green revolution of the 3th National Social and Economic Plan. Scattered in Petchabun Province’s Namnao District and Loei Province’s Wangsaphung and Phu Kradeng District, the migration has caused an assimilation on cultural belief, language and harmonious, mutual supporting and community elder-respecting ways of life. This was usually witnessed by solving community conflicts by the intercession of community elders. By-and-large, community members give priority and importance to public activities with due respect to and observation of culturally established community rules and regulations, resulting in a harmonious society.

In general, land use is for agriculture, especially mono-crops. Classified by terrain, plain areas in the valley or between mountains are used for corn, para rubber, tapioca, while lowland plain for paddy, sugar cane, with a few areas for integrated farming. A larger portion of the land is included in forest reserve area. Land ownership is validated through land tax payment ,so called Por Bor Thor 5. General patterns of land use are inconsistent with conditions of the terrain thus have adversely affected the environment in the landscape with persisting complicated problems.

Based on the result of assessment of baseline in the landscape summarized from participatory brainstorming/debates at local level, it was concluded that the main driver of environment degradation was that mono-crop plantation leading to forest encroachment , land degradation, inefficient production process, insecurity of occupation and limited supplementary occupation, shortage of water source for developing system of sustainable agriculture, undermined food security, issues on arable land rights, wildfire problem, draughts, and wild animals intruding into cultivated land. All these have been attributed to inappropriate community behaviour, community context, lack of appropriate management and other system.

The existing capital in the landscape is the strong congregation of CBOs active in natural resources and environment development which takes shape and be seen in community forest network, and environment network. The landscape contains existing forest resources which is the result of joint effort of conservation and collaboration with concerned government agencies under the support of GEF SGP OP 5 Year 4 during December 2015-May 2017. The relevant supporting activities included conserving community forests, national parks and wildlife sanctuaries which constitute strategic area for natural resources and environment, watersheds for major river basins of Thailand and of GEF international water. The other capitals of the landscape are cultural cohesion as well adapted indigenous knowledge/ practices to guide livelihood activities in the landscape.

The landscape location is included within Petchabun and Loei Province which is an area of ecological

significance comprising 10 national parks and wildlife sanctuaries with total approximate area of 5,007.05 sq.km., community forests from community conservation effort of 82.6 sq. km.,and watershed of major rivers of the country and of GEF international water i.e. Nam Phung River Basin, Parsak River Basin draining into Chaophaya River, Nam Man River Basin, Huung River Basin,Loei River Basin,Phong River Basin,Sern River Basin all draining into Mekong River, Khek River draining into Nan River. In addition to the ecological significance, the landscape has been target area for groups of environmental NGOs and CBOs which were the GEF SGP grantees during OP 5 year 4. After the completion of the supported projects, these NGOs/CBOs are still collaborating to further environment development in the location, as well as reaching out to other groups in the landscape. This is the main reason for selecting the landscape as the target location of project implementation.

10-year Goal: Natural resources and ecological systems in Phetchabun Mountains are being used and managed in a balanced manner , with increased capacity of community, under sound participatory management and good governance

Situation Analysis ( Threats and Opportunities)

- The socio-economic context of the target landscape encompasses the commercialized agricultural-rural communities, since target population depends mainly upon agricultural practices for sales as the main source of income. However, such an income is rated as low due to its yearly nature and debt burden from borrowing money for the practices, such as for seeds, fertilizer, pesticide, hired labour, and plowing machinery. The commercialized way of production, as a rule, stresses on produced quantity without due recognition and awareness of adverse effects to the ecosystems that leads to following problems on deforestation for more cultivated land and land degradation as a result of chemical use, inefficient production system, low quantity and quality yields, insecurity of occupation and limited supplementary/optional occupation, shortage of water source for developing system of sustainable agriculture, undermined food security due to damaged resources bases, issues on arable land rights due to public land reclamation and uncertainty in land right, limited options for access to funding sources, wildfire from field burning, hunting and husbandry , draughts, and wild animals intruding into cultivated land. All these have been attributed to unsuitable community behavior, community context, lack of appropriate management and of other systems. This existing situation and problems in the landscape are well recognized and requiring genuine attention to rectify and further develop under the 4 strategic frameworks of GEF.

Strategy For Developing Landscape Resilience ( Outcomes and Indicators of Success)
Main Directions for Developing the Landscape:

-Promoting and supporting community participation in sustainable conservation of land, water and forest resource

-Promoting and supporting efficiency improvement of sustainable production system

-Promoting, supporting and developing diversified occupations for creating economy based on community resources in a sustainable manner

-Promoting and developing mechanism for effective and equitable management system

The main driver of environment degradation was that mono-crop plantation leading to forest encroachment , land degradation, issues on arable land rights, wildfire problem, and wild animals intruding into cultivated land.

Long-term Goal of Landscape Strategy is the enhancement of the resilience capacity of society, economy, and ecosystems of the landscape through community-based activities.

10-year Goal: Natural resources and ecological systems in Phetchabun Mountains are being used and managed in a balanced manner , with increased capacity of community, under sound participatory management and good governance

Plan for Advocacy:

The substantial result of project implementation is presented and disseminated at local,provincial and regional level through open forums. Relevant policy-wise recommendation is also submitted to local administrative organizations, provincial administrative organizations and upto the departmental/ ministerial level for integration into each level of development plan.

Plan for Replication and Upscale:

Direction 1. Upgrading projects with potentials and capitals for replication/upscale in other locations or expansion of networks.

Direction 2. Replicating results of SGP experience, motivating and upgrading SGP model projects with substantial achievement and capacity to influence local organizations for local action plans or local acts.

Direction 3.Presenting lessons learnt, consolidated knowledge and achievement of projects to responsible government agencies, at both provincial and country level.

12

Projects

50

Villages

82.61

Total area / sq km

Power in Numbers

Project Gallery

bottom of page